Header Image
ข้อมูลทั่วไปจังหวัด
watermark

ข้อมูลพื้นฐานของจังหวัดแพร่

คำขวัญจังหวัดแพร่

"หม้อห้อมไม้สัก ถิ่นรักพระลอ ช่อแฮ่ศรีเมือง ลือเลืองแพรเมืองผี คนแพร่นี้ใจงาม"

ความสำคัญของจังหวัด :


        เมืองแพร่ เป็นเมืองโบราณสร้างมาช้านานแล้วตั้งแต่อดีตกาล แต่ยังไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างขึ้นในสมัยใดและใครเป็นผู้สร้าง เมืองแพร่เป็นเมืองที่ไม่มีประวัติของตนเองจารึกไว้ในที่ใดๆ โดยเฉพาะ นอกจากปรากฏในตำนานพงศวดารและจารึกของเมืองอื่นๆ บ้างเพียงเล็กน้อย จารึกของเมืองอื่นๆ บ้างเพียงเล็กน้อย เมืองแพร่มีชื่อเรียกกันหลายอย่าง ตำนานเมืองเหนือเรียกว่า "พลนคร" หรือ "เมืองพล" ดังปรากฏในตำนานสร้างพระธาตุลำปางหลวง "เบื้องหน้าแต่นั้นนานมา ยังมีพระยาสามนตราชองค์หนึ่ง เสวยราชสมบัติในพลรัฐนคร อันมีในที่ใกล้กันกับลัมภกัปปะนคร (ลำปาง)" นี่ ทราบว่าสรีรพระธาตุพระพุทธเจ้ามีในลัมภกัปปะนคร ก็ปรารถนาจะใครก็ได้" สมัยขอมเรืองอำนาจ ราว พ.ศ. 1470-1560 นั้น พระนางจามเทวีได้แผ่อำนาจเข้าครอบครองดินแดนในเขตลานนา ได้เปลี่ยนชื่อเมืองในเขตลานนาเป็นภาษาเขมร เช่น ลำพูนเป็นหริภุญไชย น่านเป็นนันทบุรี เมืองแพร่เป็นโกศัยนคร หรือ นครโกศัย ชื่อที่ปรากฏในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง เรียกว่า "เมืองพล" และได้กลายเสียงตามหลักภาษาศาสตร์เป็น "แพร่" ชาวเมืองนิยมออกเสียงว่า "แป้" 

สภาพภูมิอากาศ:


       จังหวัดแพร่ล้อมรอบด้วยภูเขาทั้ง 4 ทิศ พื้นที่ส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80 เป็นภูเขา มีพื้นที่ราบเพียงร้อยละ 20 โดยลาดเอียงไปทางทิศใต้ตามแนวไหนของแม่น้ำยมคล้ายก้นกระทะ พื้นที่ราบของจังหวัดจะอยู่ระหว่างหุบเขามี 2 แปลงใหญ่ คือ ที่ราบบริเวณพื้นที่อำเภอร้องกวาง อำเภอเมืองแพร่ อำเภอสูงเม่น อำเภอเด่นชัย และอีกหนึ่งแปลงคือบริเวณที่ตั้งอำเภอลองและอำเภอวังชิ้น ซึ่งที่ราบดังกล่าวใช้เป็นที่อยู่อาศัยและทำการเกษตร

สถานที่ตั้งอนาเขต :


      จังหวัดแพร่เป็น 1 ใน 17 จังหวัดภาคเหนือของประเทศไทย ตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งเหนือที่ 14.70 ถึง 18.44 องศา กับเส้นแวงที่ 99.58 ถึง 100.32 องศา อยู่สูงกว่าระดับน้ําทะเลประมาณ 155 เมตร อยู่ห่างจาก กรุงเทพมหานคร ตามทางหลวงหมายเลข 11 และ 101 ประมาณ 551 กิโลเมตร และทางรถไฟ 550 กิโลเมตร (ถึงสถานีรถไฟเด่นชัย) มีเนื้อที่ประมาณ 6,538.59 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 4,086,625 ไร่และมีอาณาเขต ติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่

      - ทิศเหนือ เขตอําเภอสองและอําเภอร้องกวาง ติดต่อกับ จังหวัดลําปาง น่าน และพะเยา
      - ทิศตะวนออก เขตอําเภอเมืองแพร่และอําเภอร้องกวาง ติดต่อกับ จังหวัดน่านและอุตรดิตถ์
      - ทิศใต้ เขตอําเภอเด่นชัยและอําเภอวังชิ้น ติดต่อกับ จังหวัดอุตรดิตถ์และสุโขทัย ทิศตะวันตก เขตอําเภอสอง อําเภอลอง และอําเภอวังชิ้น ติดต่อกับ จังหวัดลําปาง

ลักษณะภูมิอากาศ :


       ฤดูกาลลักษณะภูมิอากาศของจังหวัดแพร่จัดอยู่ในลักษณะแบบฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดูหรือแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อน บริเวณดังกล่าวอยู่ในเขตกล้องอากาศเขตร้อน ปริมาณและการกระจายของฝนได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม 2 ประเภท คือลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ทำให้มีฝนชุก ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่นำเอาอากาศหนาวและแห้งแล้งจากประเทศจีนมาปกคลุมทั่วบริเวณภาคเหนือของประเทศไทยนอกจากนี้ลักษณะพื้นที่ของจังหวัดแพร่ที่เป็นแอ่งคล้ายก้นกระทะและลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขา จึงทำให้สภาพอากาศแตกต่างกันมาก ลักษณะภูมิอากาศของจังหวัดแพร่แบ่งเป็นสามฤดูกาล

      ฤดูหนาว เริ่มประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์

      ฤดูร้อน   เริ่มประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม

      ฤดูฝน     เริ่มประมาณกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม

 

สภาพเศรษฐกิจ :


        จังหวัดแพร่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด ปี 2556 มูลค่า 27,442 ล้านบาท โดยมีสาขาที่สำคัญประกอบด้วย ด้านเกษตรกรรม มูลค่า 6,420 ล้านบาท ด้านการศึกษา มูลค่า 4,522 ล้านบาท ด้านอุตสาหกรรม 3,267 ล้านบาท ด้านการค้าปลีกค้าส่ง มูลค่า 2,431 ล้านบาท ตัวกลางทางการเงิน มูลค่า 2,185 ล้านบาท และอื่นๆ มูลค่า 8,617 ล้านบาท ส่วนใหญ่ประชาชนประกอบอาชีพเกษตรกรรม

        พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัด : จังหวัดแพร่มีการปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญในปี 2559 ดังนี้

        (1) ข้าว             พื้นที่ปลูก  280,558  ไร่    ผลผลิตรวม  179,556  ตัน

                 แยกเป็น   - ข้าวหอมจังหวัด  พื้นที่ปลูก           56,111      ไร่    (20%)  ผลผลิตรวม       26,933      ตัน

                               - ข้าวเหนียว       พื้นที่ปลูก           224,447    ไร่      (80%)  ผลผลิตรวม       107,734    ตัน         

        (2) ข้าวโพด       พื้นที่ปลูก  269,350   ไร่   ผลผลิตรวม  240,000    ตัน

        (3) มันสำปะหลัง พื้นที่ปลูก  17,786     ไร่   ผลผลิตรวม  71,851     ตัน 

        ธุรกิจที่มีความสำคัญของจังหวัด : การจดตั้งใหม่ธุรกิจ พบว่าประเภทธุรกิจที่มีมูลค่าการจดทะเบียนสูงสุด ดังนี้

        รับเหมาก่อสร้าง              จำนวน 4 ราย    มูลค่า 4,000,000 บาท

        ค้าส่งค้าปลีก                  จำนวน 2 ราย    มูลค่า 5,000,000 บาท

        โรงแรมและที่พัก             จำนวน 1 ราย   มูลค่า    500,000 บาท

        อุตสาหกรรมที่มีความสำคัญของจังหวัด : ประกอบด้วย อุตสาหกรรมแปรรูปไม้ อุตสาหกรรมสิ่งทอ

 

ด้านการปกครอง


       จังหวัดแพร่แบ่งเขตการปกครองเป็น

             - 8 อำเภอ 78 ตำบล 708 หมู่บ้าน 18 ชุมชน

             - องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 84 แห่ง ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ 1 แห่ง เทศบาลเมือง 1 แห่ง  เทศบาลตำบล 25 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 57 แห่ง

 

ผลิตภัณฑ์เด่นและการรวมกลุ่มผู้ประกอบการของจังหวัด :


        สินค้า OTOP ที่มีความโดดเด่น เป็นที่ต้องการของตลาด คือ เฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากไม้ เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายพื้นเมือง และของที่ระลึก

 

ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี


>>งานประเพณีนมัสการพระธาตุช่อแฮ เมืองแพร่แห่ตุงหลวง

       ตามตำนานพระธาตุช่อแฮ ระหว่างจุลศักราช 586-588(พ.ศ. 1879-1881) พระมหาธรรมราชา(ลิไท) ได้เสด็จมาบูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุช่อแฮแล้วจัดงานสักการะ 5 วัน 5 คืน ระหว่างวันขึ้น 11 ค่ำ ถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 เหนือ (เดือน 4 ใต้: ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม) ณ วันนั้นจึงเป็นจุดกำเนิดงานประเพณีงานประเพณีไหว้พระธาตุช่อแฮ เพื่อให้ประชาชนได้มาทำบุญไหว้องค์พระธาตุและพักผ่อนฉลองงานบุญ นับแต่นั้นมาเจ้าครองนครแพร่ทุกพระองค์จึงได้ยืดถือประเพณีไหว้พระธาตุช่อแฮประจำปี

งานพระธาตุช่อแฮ

>> งานประเพณีกิ๋นสลากหลวง

       ประเพณีกิ๋นสลากหลวง เ)้นประเพณีที่ชาวเหนือได้รับการสืบทอดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมมาตั้งแต่โบราณกาลตรงกับการทำบุญสลากภัตของชาวไทยภาคกลาง และประเพณี "ทิ้งกระจาด" ของชาวจีน ประเพณีดังกล่าวได้รับการเรียกขานแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น เช่น "ตานก๋วยสลาก" ""กิ๋นข้าวสลาก สำหรับจังหวัดแพร่เรีกว่า "กิ๋นสลาก" ระยะเวลาการจัดงานโดยปกติตามประเพณีนิยมมักจัดขึ้นระหว่างวันขึ้น 15 เดือน 12 เหนือเดือน 10 ใต้ (ภาคเหนือนับเวลาเร็วกว่าภาคกลางไป 2 เดือน) ถึงวันแรม 15 ค่ำ เดือนเกี๋ยงเหนือ เดือน 12 ใต้ (เดือนเกี๋ยง คือ เดือนอ้ายหรือเดือนที่ 1 )คือภายใน 45 วัน

กิ๋นสลากหลวง

>> งานประเพณีแห่น้ำช้าง

      ประชาชนในเขตตำบลนาพูน อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ และประชาชนในเขตอำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ซึ่งมีเขตติดต่อกับอำเภอวังชิ้นได้ร่วมจัดงานประเพณีแห่น้ำช้างมาเป็นเวลาหลายร้อยปีเดิมที่ตั้งของหมู่บ้านแห่งนี้อุดมไปด้วยป่าไม้อันมีค่า ได้แก่ ไม้สักทอง ไม้ประดู่ ไม้มะค่า อาชีพหลักของหมู่บ้านคือ การทำไม้ช้างจึงเป็นภาระหน้าที่สำคัญในการชักลากไม้จึงมีการคล้องช้างป่ามาเพื่อใช้งานเมื่อคล้องช้างป่าได้แล้วก็จะเอาช้างมาทำพิธีสู่ขวัญเป็นการปลอบขวัญ ช้างให้หายตกใจ เมื่อถึงเทศกาลสงกรานต์ของทุกปีเป็นช่วงระยะเวลาที่อากาศร้อนจึงให้ช้างได้พักผ่อนถือโอกาสนี้ที่เจ้าของช้างจะทำพิธีขอขมาและบายศรีสู่ขวัญรดน้ำดำหัวช้างเพื่อระลึกถึงบุญคุณที่ฉันมีต่อคนในการทำ มาหาชิดเลี้ยงชีพจึงมีพิธีแห่น้ำช้างสืบต่อกันมาถึงปัจจุบันขณะเดียวกันก็เป็นสิ่งที่บรรพบุรุษต้องการปลูกฝังจิตสำนึกให้คนรุ่นหลังจากกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ

แห่น้ำช้าง

>> งานประเพณีกำฟ้าไทยพวน

       เป็นประเพณีของชาวไทยพวนบ้านทุ่งโฮ้งอำเภอเมืองแพร่ จัดขึ้นเพื่อให้เยาวชนรุ่นหลังได้ รำลึกถึงบรรพบุรุษของชาวไทยพวนอย่างลึกซึ้งและสร้างความสามัคคีในหมู่ชาวไทยพวนให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ซึ่งได้ถือปฏิบัติกันมาอย่างยาวนาน เป็นเวลาร้อยกว่าปีเท่ากับการอพยพมาจากเวียงจันทน์แล้วไม่เคยปรากฏว่ามีคนไทยพวนบ้านเธอถูกฟ้าผ่าตายเลย กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1-4 กุมภาพันธ์ของทุกปีโดยประมาณ

งานกำฟ้า

 

การเกษตรกรรม


       จังหวัดแพร่ มีพื้นที่ทำการเกษตร จำนวน 1,117,663 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 27.29 ของพื้นที่ทั้งหมด มีครัวเรือนที่ประกอบอาชีพการเกษตร จำนวน 80,269 ครัวเรือน คิดเป้นร้อยละ 48.09 ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมด แบ่งเป็น 8 อำเภอ

      - อำเภอเมืองแพร่ จำนวนครัวเรือนเกษตรกร 17,674 ครัวเรือน

      - อำเภอสอง             จำนวนครัวเรือนเกษตรกร 11,561 ครัวเรือน

      - อำเภอร้องกวาง      จำนวนครัวเรือนเกษตรกร  9,310  ครัวเรือน

      - อำเภอสูงเม่น         จำนวนครัวเรือนเกษตรกร 11,110 ครัวเรือน

      - อำเภอเด่นชัย         จำนวนครัวเรือนเกษตรกร  5,446  ครัวเรือน

      - อำเภอลอง             จำนวนครัวเรือนเกษตรกร 10,322 ครัวเรือน

      - อำเภอวังชิ้น           จำนวนครัวเรือนเกษตรกร 10,282 ครัวเรือน

      - อำเภอหนองม่วงไข่ จำนวนครัวเรือนเกษตรกร   4,564 ครัวเรือน

      สินค้าเกษตรที่สำคัญของจังหวัดแพร่ ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง ถั่วเหลือง พริก จังหวัดแพร่ยังไม่มีศูนย์กลางการตลาดที่รองรับผลผลิต ผลผลิตในแต่ละปีมีปริมาณไม่มากและไม่แน่นอน การจำหน่ายผลผลิตของเกาตรกรส่วนใหญ่จะซื้อขายให้กับผู้รับซื้อในท้องถิ่นแหล่งผลิต โดยมีผู้รวบรวมในท้องถิ่นนำไปจำหน่ายยังพ่อค้าหรือโรงงานรายใหญ่ในเมืองโดยตรง

 

ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม


>> แหล่งน้ำ

       แม่น้ำยม เป็นแหล่งน้ำที่สำคัญของจังหวัดมีต้นน้ำกำเนิดจากดอยขุนยวม2 ในทิวเขาผีปันน้ำเขตอำเภอปง จังหวัดพะเยา โดยไหลลงทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ผ่านซอกเขาที่ปกคลุมด้วยป่าและมีความลาดเทมาก มีที่ราบแคบๆ ริมลำน้ำเป็นบางตอน เมื่อเข้าท้องที่จังหวัดแพร่และผ่านลำน้ำง่าวและลงทางทิศใต้ เริ่มออกที่ราบพื้นใหญ่ของจังหวัดแพร่ จากอำเภอสอง ผ่านอำเภอหนองม่วงไข่ อำเภอเมือง อำเภอสูงเม่น ไปจนถึงอำเภอเด่นชัย จากนั้นไหลลงสู่ทิศตะวันตกเข้าซอกเขาไหลผ่านอำเภอลอง อำเภอวังชิ้น ก่อนเข้าท้องที่สุโขทัยลงทางทิศใต้ถึงอำเภอศรีสัชนาลัยและมีความลาดเทน้อยลงเมื่อผ่านที่ตั้งจังหวัดสุโขทัย แล้วลงทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ท้องที่จังหวัดพิษณุโลกถึงท้องที่จังหวัดพิจิตร แล้วไหลลงทางทิศใต้เป็นครั้งสุดท้ายและมีแนวขนานคู่เคียงกับแม่น้ำน่านจนไหลลงแม่น้ำสายนั้นที่บ้านเกยชัยในเขตอำเภอชุมแสงจังหวัดนครสวรรค์ ยาวประมาณ 735 กิโลเมตร โดยไหลผ่านจังหวัดแพร่ตามแนวยาวของจังหวัดระยะทาง 280 กิโลเมตรซึ่งเป็นความยาว1ใน3ของความยาวทั้งหมดของลำน้ำ

       ลุ่มน้ำยม มีพื้นที่รับน้ำฝน 23,616 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 11 จังหวัดประกอบด้วย พะเยา น่าน ลำปาง แพร่ ตาก กำแพงเพชร สุโขทัย อุตรดิตถ์ พิษณุโลก พิจิตร และนครสวรรค์ ลุ่มน้ำยมมีปริมาณฝนเฉลี่ยปีละ 1,143 มิลลิเมตร มีปริมาณน้ำถ้าเฉลี่ยปีละ 4,143 ล้าน ลบ.ม. เป็นปริมาณน้ำถ้าในฤดูแล้ง 696 ล้านลบม. คิดเป็นร้อยละ 17 ของปริมาณน้ำท่าทั้งหมด จากการรายงานการศึกษาของกรมชลประทานเมื่อปีพ.ศ. 2541 พบว่าความจุน้ำของลำน้ำยมตั้งแต่ต้นน้ำถึงอำเภอเมืองสุโขทัยจะมีค่าอยู่ระหว่าง 1500 ถึง 3000 ม.3/วินาที เนื่องจากสภาพขอขวดของลำน้ำทำให้การระบายน้ำในฤดูฝนทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร และมักเป็นปัญหาเรื่องอุทกภัยอีกทั้งมีลักษณะคดเคี้ยวไปมาทำให้ในฤดูฝนเมื่อมีน้ำไหลบ่าอย่างแรงมักเกิดอุทกภัยในพื้นที่ราบลุ่มสองริมฝั่ง แม่น้ำยมแม่น้ำยมเป็นแม่น้ำสายเดียวในจำนวนแม่น้ำสายหลักของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาที่ไม่มีเขื่อนเก็บกักน้ำในช่วงฤดูแล้งประกอบกับการที่ลำน้ำสาขามีปริมาณน้ำน้อยจึงมักเกิดปัญหาการขาดแคนน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเป็นประจำทุกปี

ข้อมูลท่องเที่ยวจังหวัดแพร่


>>วัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง เป็นวัดศักดิ์สิทธิ์เก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองจังหวัดแพร่ และเป็นวัดพระธาตุประจำปีเกิดของผู้ที่เกิดปีขาล ตั้งอยู่เลขที่ 1 หมู่ที่ 11 ถนนช่อแฮ ตำบลช่อแฮ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ บนเนื้อที่ 175 ไร่ บุคคลใดที่มาเที่ยวจังหวัดแพร่แล้วจะต้องมานมัสการพระธาตุช่อแฮ เพื่อเป็นสิริมงคลกับตนเอง จนมีคำกล่าวว่า ถ้ามาเที่ยวจังหวัดแพร่ แต่ไม่ได้มานมัสการพระธาตุช่อแฮเหมือนไม่ได้มาจังหวัดแพร่

       การเดินทางมาเที่ยววัดพระธาตุช่อแฮ ถนนสายหลัก คือ ถนนช่อแฮ เริ่มตั้งแต่สี่แยกบ้านทุ่ง อำเภอเมืองแพร่ ซึ่งเป็นสี่แยกใจกลางเมืองแพร่ เข้าสู่ถนนช่อแฮ และตรงไปตามถนนช่อแฮ ผ่านโรงพยาบาลแพร่ สนามบินจังหวัดแพร่ หมู่บ้านเหล่า หมู่บ้านนาจักร หมู่บ้านแต (กวีรัตน์) หมู่บ้านมุ้ง สถานที่ตั้งของวัดพระธาตุช่อแฮอยู่ในบริเวณเขตเทศบาลตำบลช่อแฮ ด้วยระยะทาง 9 กิโลเมตร จากตัวเมืองจังหวัดแพร่

พระธาตุช่อแฮ

>>วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร ตั้งอยู่ถนนเจริญเมือง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ แต่เดิมเป็นวัดราษฎร์ต่อมาในปี พ.ศ. 2498 ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตยกฐานะวัดพระบาทมิ่งเมือง เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร

      วัดพระบาทมิ่งเมืองมาจากสองวัดรวมกัน ได้แก่ วัดพระบาท และวัดมิ่งเมือง ตั้งอยู่ห่างกันเพียงมีถนน กั้นเท่านั้น วัดพระบาทเป็นวัดของอุปราชหรือเจ้าหอหน้า ส่วนวัดมิ่งเมืองเป็นวัดของเจ้าผู้ครองนครแพร่ เมื่อเมืองแพร่ล้มเลิกระบบเจ้าผู้ครองนคร วัดทั้งสองก็ถูกทอดทิ้งอยู่ในสภาพทรุดโทรมมาก กระทั่งคณะกรมการจังหวัดเห็นสมควรรวมสองวัดเข้าด้วยกัน ให้ชื่อว่า วัดพระบาทมิ่งเมือง

      วัดนี้เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธโกศัยศิริชัยมหาศากยมุนี พระคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดแพร่ และยังมีพระเจดีย์มิ่งเมือง ซึ่งเป็นเจดีย์เก่าแก่มีรอย พระพุทธบาทจำลองอยู่ภายใน นอกจากนี้วัดนี้ยังเป็นที่ตั้งของอาคารยาขอบอนุสรณ์เพื่อระลึกถึง "ยาขอบ"หรือ นายโชติ แพร่พันธุ์ นักเขียนผู้ล่วงลับไปแล้วซึ่งเป็นทายาทเจ้าเมืองแพร่คนสุดท้าย

 

>>บ้านวงศ์บุรี ตั้งอยู่เลขที่ 50 ถนนคำลือ (ถนนหลังจวนผู้ว่า สี่แยกพระนอนเหนือ ใกล้กับวัดพงษ์สุนันท์ ) อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ เป็นบ้านของเจ้าพรหม (หลวงพงษ์พิบูลย์) ผู้สืบเชื้อสายมาจากอดีตเจ้าเมืองแพร่ และเจ้าสุนันทา วงศ์บุรี ธิดาเจ้าบุรี (พระยาบุรีรัตน์) ก่อสร้างในปี พ.ศ. 2440 ได้รับรางวัลอนุรักษ์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2536 ของสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์

บ้านวงศ์บุรี

>>อุทยานแห่งชาติแม่ยม ตั้งอยู่ในพื้นที่ครอบคลุมของอำเภองาว จังหวัดลำปาง และอำเภอสอง จังหวัดแพร่ มีพื้นที่ประมาณ 284,218.75 ไร่ หรือ 454.75 ตารางกิโลเมตร มีลักษณะเป็นเทือกเขาสูงทั้งด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกของพื้นที่ ลาดมายังแม่น้ำยมที่ไหลผ่านตอนกลางของพื้นที่ มีเทือกเขาอย่างดอยหลวง ดอยยาว ดอยขุนห้วยแปะ และดอยโตน เป็นต้น ซึ่งเป็นต้นกำเนิดแม่น้ำและลำห้วย อย่างเช่น น้ำแม่ปุง น้ำแม่ลำ น้ำแม่เต้น น้ำแม่สะกึ๋น น้ำแม่เป๋า ห้วยผาลาด ห้วยแม่ปง ห้วยแม่พุง ห้วยแม่แปง ห้วยเค็ด ห้วยปุย ห้วยเลิม และห้วยแม่ปุ๊ เป็นต้น

ทางด้านทิศเหนือไปทิศใต้ เป็นบริเวณที่ราบลาดเอียง ระดับความสูงประมาณ 180 เมตรจากระดับน้ำทะเล บริเวณอำเภอสอง แล้วลดความสูงมาเป็น 157 เมตร ส่วนทางด้านแนวทิศตะวันออกและทิศตะวันตกนั้น มีพื้นที่ลาดเอียงสู่แม่น้ำยมทั้งสองด้าน ดินส่วนใหญ่เป็นดินลูกรังและดินร่วนปนทราย ชนิดหินเป็นหินชั้นและหินเชล

แม่น้ำยม

>>แพะเมืองผี เกิดจากสภาพภูมิประเทศซึ่งเป็นดิน และหินทรายถูกกัดเซาะตามธรรมชาติเป็นรูปร่างลักษณะต่างๆ แพะแปลว่า ป่าละเมาะ เมืองผีแปลว่า เงียบเหงา ได้มีการประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยาน เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2524 มีเนื้อที่ 167 ไร่ เป็นสถานที่มีความสวยงามด้าน ธรณีวิทยา หน้าผา เสาดิน และเส้นทางศึกษาธรรมชาติวนอุทยานแพะเมืองผี จัดทำเส้นทาง ศึกษาธรรมชาติไว้บริการนักเรียน นักศึกษา และนักท่องเที่ยวทั่วไป ได้เข้ามาศึกษาสภาพป่า ลักษณะทางธรณีวิทยา เพื่อเป็น การส่งเสริมให้เกิดความรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพพื้นที่วนอุทยานมากยิ่งขึ้น

แพะเมืองผี

การเดินทาง


       จังหวัดแพร่อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 555 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางสู่จังหวัดแพร่ได้หลายวิธี ทั้งทางรถยนต์ส่วนตัว รถประจำทาง รถไฟ และเครื่องบิน

โดยรถไฟ : จังหวัดแพร่มีทางรถไฟตัดผ่านที่อำเภอเด่นชัย อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 24 กิโลเมตร การรถไฟแห่งประเทศไทยให้บริการเดินรถระหว่างอำเภอเด่นชัยและจังหวัดต่างๆ ทั้งเที่ยวขึ้นและเที่ยวล่องทุกวัน

โดยรถยนต์ : จากกรุงเทพฯ ไปจังหวัดแพร่ สามารถใช้เส้นทางรถยนต์ได้ 3 เส้นทาง ดังนี้

เส้นทางที่ 1 กรุงเทพฯ-นครสวรรค์-พิษณุโลก-เด่นชัย-แพร่ (ทางหลวงหมายเลข 11) สายใหม่ จากรังสิตมาตามถนนพหลโยธิน (ทางหลวงหมายเลข 1) แล้วแยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 32 ที่อำเภอวังน้อย จากนั้นผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี เข้าทางหลวงหมายเลข 1 อีกครั้งที่จังหวัดชัยนาท ตรงไปจังหวัดนครสวรรค์ แล้วเลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 117 (นครสวรรค์-พิษณุโลก) ผ่านจังหวัดพิจิตร พิษณุโลก จากนั้นก็เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 125 (เลี่ยงเมืองพิษณุโลก-วังทอง) แล้วเลี้ยวเข้าทางหลวงหมายเลข 11 (พิษณุโลก-เด่นชัย) ตรงไป จ.อุตรดิตถ์ และเข้าสู่ตัวจังหวัดแพร่ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 7-8 ชั่วโมง เป็นเส้นทางที่ได้รับความนิยมและสะดวกสบายในการเดินทางมากที่สุด

เส้นทางที่ 2 กรุงเทพฯ-กำแพงเพชร-สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-แพร่ (ทางหลวงหมายเลข 101) สายเก่า ใช้เส้นทางเดียวกับเส้นทางที่ 1 เมื่อไปถึงจังหวัดนครสวรรค์ ให้ตรงไป ที่จังหวัดกำแพงเพชร แล้วเลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 101 (สายเก่า กำแพงเพชร - น่าน) โดยผ่าน อ.พรานกระต่าย อ.คีรีมาศ ตรงไปจังหวัดสุโขทัย ผ่าน อ.สวรรคโลก อ.ศรีสัชนาลัย แล้วตรงไปตามทางหลวงหมายเลข 101 อีกเช่นเคย เข้าเขตจังหวัดแพร่ ผ่าน อ.วังชิ้น แล้วเลี้ยวขวาตามทางหลวงหมายเลข 101 อีกครั้ง ที่ อ.เด่นชัย ผ่านตรงไป อ.สูงเม่น และเข้าสู่จังหวัดแพร่ เช่นกัน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 9 ชั่งโมงเศษ เส้นทางนี้ เคยเป็นเส้นทางสายเก่าของภาคเหนือเมื่อประมาณ 50 ปีที่แล้วก่อนที่จะมีทางหลวงหมายเลข 11 (เด่นชัย - พิษณุโลก) สำหรับผู้ที่จะไป จังหวัดแพร่ โดยใช้เส้นทางที่ 2 นี้ จะเหมาะเดินทางในเวลากลางวันมากกว่ากลางคืน เพราะเส้นทางที่ 2 ทางหลวงหมายเลข 101 (ช่วงเด่นชัย-ศรีสัชนาลัย) จะโค้งดเคี้ยว และเส้นทางค่อนข้างแคบ ทับไปตามแนวป่าเขาสูง จึงต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ

เส้นทางที่ 3 กรุงเทพฯ-ตากฟ้า-วังทอง-อุตรดิตถ์-เด่นชัย-แพร่ (ทางหลวงหมายเลข 11) สายใหม่ ใช้เส้นทางเดียวกับเส้นทางที่ 1 เมื่อถึงอำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรีแล้ว ให้เลี้ยวขวา ไปตามทางหลวงหมายเลข 11 (ตากฟ้า-วังทอง) ผ่าน จ.นครสวรรค์ จ.พิจิตร และ เข้าสู่ อ.วังทอง จ.พิษณุโลก แล้วเลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 12 (พิษณุโลก-สุโขทัย) จากนั้นก็เลี้ยวขวา เข้าทางหลวงหมายเลข 11 (พิษณุโลก-เด่นชัย) อีกครั้ง ผ่าน จ.อุตรดิตถ์ แล้วตรงไป อ.เด่นชัย เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 101 ไปสู่จัหวัดแพร่ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 8 ชั่วโมงเศษ

โดยรถประจำทาง : บริษัท ขนส่ง จำกัด และบริษัทเอกชนมีรถโดยสารธรรมดาและรถโดยสารปรับอากาศ สายกรุงเทพฯ-แพร่ และกรุงเทพฯ-แพร่-สอง ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ (หมอชิต 2) ถนนกำแพงเพชร 2 ทุกวัน

  • บริษัทขนส่งจำกัด
  • บริษัทสมบัติทัวร์
  • บริษัทนครชัยแอร์
  • บริษัทวิริยะแพร่ทัวร์

โดยเครื่องบิน :

สายการบินในประเทศ

รถโดยสารประจำทางระหว่างต่างจังหวัดและกรุงเทพมหานคร

                           

  • สาย 923 กรุงเทพ-แพร่ (กรุงเทพ-นครสวรรค์-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-แพร่) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ บขส. สมบัติทัวร์ บุษราคัมทัวร์ นครชัยแอร์ (ปรับอากาศ ป.2 และ ปรับอากาศชั้นเดียว ป.1)
  • สาย 923-1 กรุงเทพ-แพร่-สอง (กรุงเทพ-นครสวรรค์-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-เด่นชัย-แพร่-สอง) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ บขส. สมบัติทัวร์ (ปรับอากาศสองชั้น ป.1)
  • สาย 922 กรุงเทพ-พะเยา (กรุงเทพ-นครสวรรค์-พิษณุโลก-แพร่-พะเยา) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ บขส. สมบัติทัวร์ เชิดชัยทัวร์
  • สาย 964 กรุงเทพ-วังชิ้น (แพร่) (กรุงเทพ-นครสวรรค์-กำแพงเพชร-ตาก-อ.เถิน-อ.วังชิ้น) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ บขส. (ปรับอากาศชั้นเดียว ป.1)
  • สาย 910 กรุงเทพ-น่าน (กรุงเทพ-นครสวรรค์-พิษณุโลก-เด่นชัย-แพร่-ร้องกวาง-เวียงสา-น่าน) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ บขส. สมบัติทัวร์ บุษราคัมทัวร์ นครชัยแอร์
  • สาย 96 กรุงเทพ-น่าน (กรุงเทพ-นครสวรรค์-กำแพงเพชร-สุโขทัย-อุตรดิตถ์-แพร่-ร้องกวาง-เวียงสา-น่าน) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ บขส. เชิดชัยทัวร์ บุษราคัมทัวร์
  • สาย 47 กรุงเทพ-ทุ่งช้าง (กรุงเทพ-นครสวรรค์-พิษณุโลก-แพร่-เวียงสา-น่าน-ปัว-เชียงกลาง-ทุ่งช้าง) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ บขส. สมบัติทัวร์
  • สาย 962 กรุงเทพ-เชียงของ (กรุงเทพ-วังทอง-แพร่-พะเยา-เทิง-เชียงของ) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ บขส. สมบัติทัวร์ โชครุ่งทวีทัวร์ บุษราคัมทัวร์ เชิดชัยทัวร์ นครชัยแอร์
  • สาย 909 กรุงเทพ-เชียงราย (กรุงเทพ-นครสวรรค์-พิษณุโลก-แพร่-พะเยา-เชียงราย) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ บขส. โชครุ่งทวีทัวร์ เชิดชัยทัวร์ สมบัติทัวร์
  • สาย 957 กรุงเทพ-แม่สาย (กรุงเทพ-นครสวรรค์-พิษณุโลก-แพร่-พะเยา-เชียงราย-แม่สาย) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ บขส. สมบัติทัวร์ เชิดชัยทัวร์ โชครุ่งทวีทัวร์ นครชัยแอร์
  • สาย 660 ระยอง-เชียงราย-แม่สาย (ระยอง-พัทยา-ชลบุรี-ฉะเชิงเทรา-สระบุรี-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-แพร่-พะเยา-เชียงราย-แม่สาย) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ นครชัยแอร์
  • สาย 660 ระยอง-แพร่-น่าน (ระยอง-พัทยา-ชลบุรี-ฉะเชิงเทรา-สระบุรี-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-แพร่-ร้องกวาง-เวียงสา-น่าน) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ นครชัยแอร์
  • สาย 661 เชียงราย-นครพนม (นครพนม-สกลนคร-อุดรธานี-เลย-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-แพร่-พะเยา-เชียงราย) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ สมบัติทัวร์ จักรพงษ์ทัวร์
  • สาย 622 พิษณุโลก-เชียงราย-แม่สาย (สายเก่า) (พิษณุโลก-สุโขทัย-สวรรคโลก-ศรีสัชนาลัย-อุตรดิตถ์-แพร่-พะเยา-เชียงราย-แม่สาย) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ สุโขทัยวินทัวร์
  • สาย 624 พิษณุโลก-เชียงของ (สายใหม่) (พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-แพร่-พะเยา-เชียงคำ-เชียงของ) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ สุโขทัยวินทัวร์
  • สาย 622 พิษณุโลก-เชียงราย (สายใหม่) (พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-แพร่-พะเยา-เชียงราย) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ สุโขทัยวินทัวร์
  • สาย 613 พิษณุโลก-น่าน-ทุ่งช้าง (พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-แพร่-น่าน-ทุ่งช้าง) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ สุโขทัยวินทัวร์ และ นครน่านทัวร์
  • สาย 663 นครสวรรค์-เชียงราย (นครสวรรค์-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-แพร่-พะเยา-เชียงราย) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ นครสวรรค์ยานยนต์ (ถาวรฟาร์มทัวร์)
  • สาย 633 ขอนแก่น-เชียงราย (ขอนแก่น-ชุมแพ-หล่มสัก-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-แพร่-งาว-พะเยา-เชียงราย) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ อีสานทัวร์ สมบัติทัวร์
  • สาย 651 นครราชสีมา-แม่สาย (นครราชสีมา-สระบุรี-โคกสำโรง-ตากฟ้า-เขาทราย-วังทอง-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-แพร่-พะเยา-เชียงราย) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ นครชัยทัวร์
  • สาย 780 ภูเก็ต-เชียงราย (ภูเก็ต-สุราษฎร์ธานี-ชุมพร-ประจวบฯ-เพชรบุรี-อยุธยา-นครสวรรค์-พิษณุโลก-แพร่-พะเยา-เชียงราย) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ โชครุ่งทวีทัวร์ และไทยพัฒนกิจขนส่ง
  • สาย 877 หาดใหญ่-เชียงราย-แม่สาย (แม่สาย-เชียงราย-พะเยา-แพร่-อุตรดิตถ์-พิษณุโลก-ทุ่งสง-พัทลุง-หาดใหญ่-ด่านนอก) บริษัท ปิยะชัยพัฒนาทัวร์
  • สาย 1692 เชียงใหม่-ทุ่งช้าง (เชียงใหม่-ลำปาง-เด่นชัย-แพร่-ร้องกวาง-น่าน-ปัว-เชียงกลาง-ทุ่งช้าง) บริษัท ไทยพัฒนกิจขนส่ง จำกัด
  • สาย 1693 ลำปาง-แพร่ (ลำปาง-แม่แขม-เด่นชัย-สูงเม่น-แพร่) บริษัท ไทยพัฒนกิจขนส่ง จำกัด
  • สาย 144 เชียงราย-เด่นชัย (เชียงราย-พาน-พะเยา-งาว-แพร่-เด่นชัย) บริษัท แพร่ยานยนต์ขนส่ง (หนานคำทัวร์) จำกัด
  • สาย 143 อ.เฉลิมพระเกียรติ-น่าน-อ.เด่นชัย (ห้วยโก๋น-เฉลิมพระเกียรติ-ทุ่งช้าง-เชียงกลาง-ปัว-น่าน-เวียงสา-ร้องกวาง-แพร่-เด่นชัย) บริษัท นครน่านยานยนต์ขนส่ง จำกัด
  • สาย 146 ลำปาง-แพร่ (ลำปาง-ม.ราชภัฏลำปาง-แม่ทะ-แม่แขม-ลอง-แพร่) บริษัท สหกรณ์นครลำปางเดินรถ จำกัด
  • สาย 135 พิษณุโลก-สุโขทัย-แพร่ (แพร่-เด่นชัย-ศรีสัชนาลัย-สวรรคโลก-สุโขทัย-พิษณุโลก) บริษัทผู้เดินรถ (รถตู้) สุโขทัยวินทัวร์

 


Line

คะแนนโหวต :
starstarstarstarstar
จำนวนการเข้าชม : 51,106